วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันไหว้ครู


ประวัติวันไหว้ครู

วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”

จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน เป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน

การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. กิจกรรมทางศาสนา

2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณ บูรพาจารย์

3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือ การจัดงาน รื่นเริงในตอนเย็น



ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้



กลอนวันครู

คุณครูที่รัก.....
เห็นลำเรือลอยมา..ที่ท่าน้ำ
พายวาดค้ำลำแอบเข้าแนบข้าง
หลากหลายเท้าคู่น้อย..ก็พลอยวาง-
ก้าวเหยียบย่างลงสู่..เสียงกรูเกรียว

เรือจ้างน้อยลอยลำ..พายจ้ำจ้วง
แต่ละช่วงจังหวะ..น้ำชะเชี่ยว
เห็นเธอวาด..พายค้ำ..เรือลำเรียว
อยู่กลางสายชลเปลี่ยว..อย่างเดียวดาย

เช่น..ดวงวันลอยดวง..ขึ้นช่วงแสง
ทาบหล้าแหล่งให้พิสุทธิ์..เห็นจุดหมาย
เมื่อหัวใจมุ่งอยู่..ไม่รู้วาย
จักจ้วงพายพาคน..ข้ามพ้นน้ำ

งามยิ่งงาม..ก็ระยับอยู่กับโลก
ปรุงปรนหอมบ่ายโบกโลมโลกต่ำ
เมื่อปรารมภ์พร่างพร้อย..ทุกรอยกรรม-
ย่อมจักย้ำยุดงามอยู่ท่ามตา

มือเรียววาดพาย-วนกลางชลเปลี่ยว
พร้อมทุกเสี้ยวส่วนใจ..รู้-ใฝ่หา
คลื่นสวนลำโหมหนัก..ในมรรคา
เห็นเพียงใจแกร่งกล้าไม่ล้าโรย

ร่างน้อยน้อยนั่งมองตาจ้อง-เพ่ง
ท่ามสูรย์เปล่งปลาบแนว..ลมแผ่วโผย
แรงคลื่นสายธารโลก..คอยโบกโบย
พาพ้นโดยมือเรียว..ที่เคี่ยวกรำ

ปีแล้ว..และปีเล่า..ที่เจ้าเป็น
ผ่านร้อยเข็ญ..พันโศกแห่งโลกต่ำ
ด้วยจิตที่สำนึก..งามลึกล้ำ
ค่อยค่อยจ้ำเรือน้อย..ล่องลอยไป

ละเที่ยวพาย..ละเที่ยวผ่าน..ฝ่าธารเชี่ยว
ค่อยค่อยเคี่ยวกรำสอน..อาทรให้-
ลูกศิษย์น้อยคล้อยหลัง..สู่ฝั่งไกล
ผ่านน้ำไหล..ชะเชี่ยว..ด้วยเรี่ยวแรง

คือเรือน้อยลอยผ่านสายธารไหล
ด้วยจิตใจครูสาวผู้กร้าวแกร่ง
ที่จะคอยคัดท้าย-วาดพาย..ทะแยง
พาหัวเรือทิ่มแทง..สู้แรงน้ำ

ทอดทิ้งตัวตนอยู่..เพื่อผู้อื่น
ท่ามกระแสลมตื่น..เสียงคลื่นคร่ำ-
ครวญระดมห่มห้อม..อยู่ล้อมลำ-
เรือน้อยคอยพลิกคว่ำ..จมลำเรือ

ภาพเด็กน้อยจำพราก..พ้นฟากฝั่ง
มือเรียววาดพายยัง..อีกฝั่งเพื่อ –
รับส่งอีกทุกรุ่น..ช่วยจุนเจือ-
ภาพงดงามให้หลงเหลือ...ในแผ่นดิน..!


คิดถึงครู

นับแต่วัน ที่ครูพา ข้าถึงฝั่ง
ข้าก็หวัง เดินไป สู่ที่หมาย
ความสำเร็จ การศึกษา ในบั้นปลาย
สิ่งสุดท้าย ใบปริญญา ข้าใคร่ครวญ

ข้าเปลี่ยนเรือ มาแล้ว ตั้งหลายลำ
พระคุณล้ำ ครูของข้า ข้านึกหวน
ครูยิ่งใหญ่ หนักหนา ข้าทบทวน
รำลึกหวน ย้อนหลัง เรื่องฝังใจ

ทั้งครูนิด ครูหน่อย ครูต้อยติ่ง
ครูสมหญิง ครูวาสนา ครูผ่องใส
ครูอาทิตย์ ครูภิรมย์ ครูสมใจ
ครูเกรียงไกร ครูสง่า ครูอดุลย์

ข้าตั้งใจ ว่าสักวัน จะหันกลับ
ไปคำนับ กราบครู ผู้เกื้อหนุน
ด้วยสำนึก ในค่า แห่งพระคุณ
ที่เจือจุน สอนข้า ด้วยปรานี

ข้าไม่เคย ลืมคำ ครูพร่ำสอน
ข้าสังวร อยู่แก่ใจ ไม่หน่ายหนี
ข้าตระหนัก ค่าแห่งรัก และปรารถนาดี
ที่ครูมี ต่อข้า มามากมาย

กราบคุณครู ทั้งหลาย ในวันนี้
รอบ " วันครู " อีกปี ที่ห่างหาย
หวังปีหน้า ปริญญา ข้าถือไป
พร้อมดอกไม้ ไปกราบลง ตรงเท้าครู

หัวขโมยพ่อหนุ่มหัวใส

หัวขโมยเจอพ่อหนุ่มหัวใส
เช้าวันที่อากาศสดใส เด็กหนุ่มคนหนึ่งขณะอาบน้ำในคลอง โดยถอดเสื้อผ้าไว้ที่ริมตลิ่ง ขณะที่กำลังดำผุดดำว่ายอยู่อย่างเพลิดเพลินนั้น ได้มีชายคนหนึ่งแอบเข้ามาขโมยกางเกง และเสื้อไปหมด เด็กหนุ่มคนนั้นมีความแค้นใจ และเสียใจยิ่งนัก และคิดจะเอากางเกง และเสื้อของตนคืนมาให้ได้
วันหนึ่งเห็นชายหัวขโมย ใส่เสื้อผ้าที่ขโมยมา เดินผ่านมา เด็กหนุ่มก็จำได้ จึงทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้
แสร้งร้องไห้สะอึกสะอื้นอยู่ที่ขอบสระนั้น
ขโมยเห็นเข้าจึงเข้ามาถามว่า พ่อหนุ่มมานั่งร้องไห้อยู่ที่นี่ทำไม?

เด็กหนุ่มตอบว่า “ฉันทำสร้อยคอตกน้ำจ้ะพี่ ทองคำหนักตั้ง 5 บาท กลับบ้านพ่อคงตีฉันตาย”
ขโมยถามว่า “ทำไมไม่ลงงมล่ะ”
“ฉันว่ายน้ำไม่เป็น” เด็กหนุ่มตอบ
ขโมยเห็นโอกาสจะตบตาเด็กเอาสร้อยคอมาได้เหนาะๆ เช่นนั้น จึงบอกแก่เด็กหนุ่มว่า
“เอาละ ข้าสงสารเอ็งจะลงงมให้ เอ็งคอยอยู่ที่นี่ก็แล้วกัน”

“ขอบคุณท่านมากทีเดียว นึกว่าช่วยเหลือฉันสักที ฉันจะไม่ลืมบุญคุณเลย”
ขโมยรีบถอดเสื้อผ้ากองไว้ที่ขอบสระ แล้วกระโจนลงน้ำโครมไม่รีรอ
ขณะที่กำลังดำอยู่ก้นสระนั้นเด็กหนุ่มได้ทีจึงรีบฉวย เสื้อ กางเกงของตัวกลับคืน แล้วหนีไป
(อย่างนี้เรียกว่า เกลือจิ้มเกลือ)

ตำนานชูชก


ตำนานชูชก

ปรากฏในมหาเวสสันดรชาดก
พระเวสสันดรอันเป็นชาติสุดท้ายของการสั่งสมบารมีเพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต



ชูชกเป็นพราหมณ์อยู่ในเมืองกลิงคราษฎร์ เที่ยวท่องขอทานไปทั่ว และด้วยนิสัยประหยัด มัธยัสถ์ รู้จักอดออม เงินที่ขอเขามาเก็บไว้จึงมากมายเข้าขั้นเศรษฐี ชูชกนำไปฝากเพื่อนพราหมณ์ไว้


ครั้นเมื่อกลับไปทวงถาม ปรากฎว่าเพื่อนได้ใช้เงินหมดไปแล้ว
เลยยกลูกสาวคือนางอมิตดาวัยแรกรุ่นสวยงามให้แทน




ทั้งที่ชูชกมีรูปร่างอุบาทว์อัปลักษณ์ยิ่งนัก แต่นางอมิตดาก็ขยันปรนนิบัติสามีเป็นอย่างดี นางตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร ดูแลบ้านเรือนไม่มีขาดตกบกพร่อง ความประพฤติที่ดีเพียบพร้อมของนางอมิตดาทำให้เป็นที่สรรเสริญของบรรดา พราหมณ์ทั้งหลายในหมู่บ้านนั้น ในไม่ช้า บรรดาพราหมณ์เหล่านั้นก็พากันตำหนิติเตียนภรรยาของตนที่มิได้ประพฤติตนเป็น แม่บ้านแม่เรือนอย่าง นางอมิตดา


ทำให้พวกภรรยาพราหมณ์อิจฉาริษยามาคอยด่าทอนางอมิตดาอยู่ทุกวัน

นางอมิตดามาเล่าให้ชูชกฟัง ชูชกจึงบอกว่าต่อไปนี้นางไม่ต้องทำการงานสิ่งใด
ชูชกจะเป็นฝ่ายทำให้ทุกอย่าง นางอมิตดาจึงว่า
..



ภรรยาที่ดีจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร จะปล่อยให้สามีมาปรนนิบัติรับใช้ เราทำไม่ได้หรอก ลูกหญิงที่พ่อแม่อบรมสั่งสอนมาดี ย่อมจะไม่นั่งนอนอยู่เฉยๆ ดีแต่ชี้นิ้วให้ผู้อื่นปรนนิบัติตน นี่แน่ะ ชูชก ถ้าท่านรักเราจริง ท่านจงไปหาบริวารมาปรนนิบัติรับใช้เราดีกว่า

ชูชกได้ฟังดังนั้นก็อัดอั้นตันใจ ไม่รู้จะไปหาข้าทาสหญิงชายมาจากไหน นางอมิตดา จึงแนะว่า

ขณะนี้ พระเวสสันดรเสด็จออกมาจากเมืองสีพี มาทรงบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า พระองค์เป็นผู้ใฝ่ในการบริจาคทาน

ท่านจงเดินทางไปขอบริจาคพระชาลี กัณหา โอรสธิดาของพระเวสสันดรมาเป็นข้าทาสของเราเถิด

ชูชกจึงไปทูลขอ พระโอรสธิดาเพื่อเป็นข้าช่วงใช้ของตน พระเวสสันดรทรงมีพระทัยยินดีที่จะทรงกระทำบุตรทาน

คือ การบริจาคบุตรเป็นทานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น

เมื่อได้ตัวพระชาลี กัณหา แล้วระหว่างเดินทางกลับบังเอิญผ่านไปหน้าที่ประทับพระเจ้าสญชัยทรงทอด พระเนตรเห็นพระนัดดาทั้งสองก็ทรงจำได้ จึงให้เสนาไปพาเข้ามาเฝ้า ชูชกทูลว่า พระเวสสันดรทรงบริจาคพระชาลีกัณหาให้เป็นข้าทาสของตนแล้ว

พระเจ้าสญชัยก็โปรดให้เบิกสมบัติท้องพระคลังมาไถ่ตัวพระนัดดาจากชูชก และโปรดให้จัดข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดูชูชก

ชูชกพราหมณ์เฒ่าขอทาน ไม่เคยได้บริโภคอาหารดีๆ ก็ไม่รู้จักยับยั้ง บริโภคมาจนทนไม่ไหว ถึงแก่ความตายในที่สุด

หลวงพ่อกับเณรน้อย

หัวข้อ : หลวงพ่อกับเณรน้อย
ข้อความ : หลวงพ่อกับเณรน้อย

นิทานเรื่องหลวงพ่อกับเณรน้อย เป็นเรื่องเล่าแบบเป็นตอน ๆ เกี่ยวกับความฉลาดแกมโกงของเณรน้อยที่ชอบแกล้งและเอาชนะหลวงพ่อ (ที่ไม่ค่อยฉลาด ไม่ทันคน)

แต่ว่า การแกล้งผู้อื่น การเอาชนะผู้อื่นด้วยกลโกงแบบนี้นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้น ไม่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่างนะครับ

อย่างไรก็ตาม นิทานเรื่องหลวงพ่อกับเณรน้อย ก็มีลักษณะเฉพาะตัวของมัน เป็นเรื่องเล่าที่มีมนต์ขลัง เป็นเรื่องเล่าที่สนุกสนานบันเทิงอีกแนวหนึ่งในนิทานอีสาน

เซินม่วนสะล่ะล่ะ......
จาก : สมบัติ ศรีสิงห์ - 05/09/2003 21:16



ข้อความ : ตอนหลวงพ่อกินขี้ไก่
(กรุณาอ่านเป็นสำเนียงอีสาน)

มื้อหนึ่ง ตอนเช้า ก่อนหลวงพ่อสิออกไปบิณฑบาต กะได้สั่งเณรน้อยว่า
“น้อย น้อย หลวงพ่อสิไปบิณฑ์บาตเด้อ อยู่กุฏิกะให้เบิ่งดีๆ อย่าให้ไก่มาขี้ใส่เด้อ คันไก่มาขี้ใส่ได้ เดี๋ยวสิลงโทษอย่างหนัก ” แล้วกะเข้าไปบิณฑ์บาต

เณรน้อยกะเลยวางแผนอุบายแกล้งหลวงพ่อ กะคือ เอาน้ำอ้อยย่วย ไปหยอดไว้หม่องฮั่นหม่องหนี่ เริ่มตั้งแต่บ่อนคันได พุ่นน่ะขึ้นมา หยอดให้คือกองขี้ไก่ หยอดแล้วแล้ว กะคอยเฝ้าไล่ไก่บ่ให้ขึ้นกุฏิบักอย่างดี

พอประมาณเวลาที่หลวงพ่อสิกลับมา เณรน้อยกะทำท่าบ่ได้อยู่เฝ้ากุฏิ ไปย่างเล่นอยู่ทางอื่นเสย ว่าส่ำสา

หลวงพ่อกลับมา เห็นกองน้ำอ้อยย่วย ว่าแม่นขี้ไก่ เลาสูนวะสั่น ฮ้องหาเณรน้อยว่า
“น้อยเอ้ย น้อย เจ้าไปเฮ็ดหยังอยู่ไสเดียวเนียะ เป็นหยังจั่งบ่มาเฝ้ากุฏิ ปล่อยให้ไก่มาขี้ใส่เต็มเลยเนี่ย”

พอเณรน้อยมาแล้ว หลวงพ่อกะเลยทำโทษ ให้เณรน้อย กินขี้ไก่ เณรน้อยกะทำเป็นอิดออดบ่อยากกิน แต่ในที่สุดกะกิน เอามือต้วยกองนั่นแล้วกะกองนี่ มากินอย่างเป็นตาแซบ

“ฮู๊ แซบ ๆ ฮู้ หวานดี แซบ..”

หลวงพ่อเห็นเณรน้อยกินเป็นตาแซบ กะเลยถามว่า
“มันแซบอีหลีติน้อย มันบ่เหม็นติ”
“แซบอีหลีครับหลวงพ่อ ลองชิมเบิ่งครับ”

หลวงพ่อกะเลยเอามือต้วย มาลองชิมเบิ่ง
“โฮ้ หวาน หอม แซบดี.... อืม ขี้ไก่มันกะแซบปานนี้ตั้วหนิแมะ คันฮู้จั่งซี้ ปล่อยให้ไก่มาขี้ใส่กุฏิแต่โดนแล้ว......... มื้อลุน บ่ต้องไล่มันเด้อน้อย ปล่อยให้มันมาขี้ใส่หลาย ๆ โลดเด้อ ”

เณรน้อยกะหัวย่ามอยู่ในใจ นั่นแหล่ว

มื้อลุน ก่อนหลวงพ่อสิเข้าไปบิณฑบาต กะสั่งเณรน้อยอีกว่า
“น้อย ๆ มื้อนี้ ปล่อยให้ไก่มาขี้ใส่กุฏิหลาย ๆ เด้อ”

เณรน้อยกะเลยหนีไปหาเล่นอยู่หม่องอื่น ปล่อยให้ไก่ขึ้นมาขี้ใส่กุฏิ ตามคำสั่งของหลวงพ่อ พอหลวงพ่อกลับจากบิณฑบาต เห็นไก่แตกแซว ๆ อยู่เทิงกุฏิ กะดีใจบักอย่างใหญ่ เลาติดใจรสชาติขี้ไก่มื้อวาน กะเลยค่อย ๆ ย่อง ไปหาขี้ไก่ เทิงย่าน ไก่มันตื่นหนีลงกุฏิไปก่อนกะพ่องกัน เลากะเอามือต้วยขึ้นมาเลียกิน
“เอ๊ะ กองนี้มันคือบ่แซบหว่า เป็นเหม็น ๆ นำ” เลาสงสัย แล้วกะหยับไปหาชิมกองอื่นต่อไป....

เณรน้อย กะจอบเบิ่งอยู่เด้ ฮ้องถามหลวงพ่อว่า
“เป็นจั่งได๋ครับ หลวงพ่อ แซบบ่”

“เป็ง เหม็ง ๆ ฉ่ง ๆ (เป็นเหม็น ๆ ส้มๆ)” หลวงพ่อเบ๋ปากตอบ

เณรน้อยเลากะหัวย่าม ย่าม แหล่วเนาะ

“ไผว่าขี้ไก่มันแซบ... ขี้ไก่มันบ่แซบเดิก....(บ่เคยซิมดอกว้า)...กั๊ก ๆ ๆ ๆ ...(เสียงหัวเด้หนิ) ”

หลวงพ่อกะเสียฮู้เณรน้อย

(มื้อลุนมาฟังตอนต่อไปเด้อ)